ทำแฟรนไชส์

แฟรนไชส์กลยุทธ์หนึ่งในการต่อยอดธุรกิจ  ก่อนที่จะส่งต่อความสำเร็จและถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับผู้ลงทุนธุรกิจ จำเป็นต้องมีการสร้างระบบเพื่อให้สามารถควบคุม หรือบริหารจัดการธุรกิจได้เหมือนกันทุกสาขา ภายใต้เงื่อนไขหรือมาตรฐานเดียว  สิ่งหนึ่งที่ถือว่ามีความสำคัญคือสัญญาแฟรนไชส์

โดยปกติแฟรนไชซอร์ต้องทำความเข้าใจในคำที่เรียกว่า “ทรัพย์สินทางปัญญา” คือ สิ่งที่คิดค้น สร้างสรรค์ขึ้นจากมันสมองของแฟรนไชซอร์ เช่น เครื่องหมายการค้า หรือเครื่องหมายบริการ โนว์ฮาว หรือรูปแบบ วิธีการ ขั้นตอนในการทำธุรกิจ บางอย่างก็อยู่ภายใต้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา บางอย่างก็ไม่อยู่ ทำให้การปกป้องมิใช่เรื่องง่าย  หลักการคุ้มครองที่ต้องรู้ก่อนทำสัญญา แฟรนไชส์ 3 ด้านดังนี้

 

  1. การคุ้มครองโดยสัญญา สัญญาแฟรนไชส์เป็นเอกสารสำคัญในธุรกิจแฟรนไชส์ ยิ่งตอนนี้บ้านเรายังไม่มีกฎหมายแฟรนไชส์โดยเฉพาะ สัญญาจึงเป็นกลไกหลักเลยก็ว่าได้ แต่อยากเตือนไว้ก่อนว่า ไม่มีสัญญาใดในโลกที่สมบูรณ์ และสัญญาอาจไม่ใช่เครื่องมือที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหา เพราะการบริหารจัดการระบบแฟรนไชส์ที่ดี คือการบริหารความสัมพันธ์ ต่างฝ่ายต้องพึ่งพากัน ช่วยเหลือกัน เพื่อให้ทุกสาขาเติบโตร่วมกั
  2. การคุ้มครองจากแผนกลยุทธ์ธุรกิจ ปกติจะแฟรนไชส์ซอร์ จะออกแบบธุรกิจให้แฟรนไชซี สามารถทำตามได้ระบบได้ง่าย ลงทุนต่ำกว่าเริ่มต้นธุรกิจใหม่ทั้งหมด แต่ลอกเลียนแบบแฟรนไชซอร์ได้ยาก แต่ละธุรกิจจะมีสินค้าบริการที่แตกต่างกัน การวางมาตรการเพื่อป้องกันการลอกเลียนจึงแตกต่างกันไป การบังคับซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบเพื่อไม่ให้แฟรนไชซีรู้สูตรลับ ป้องกันการลอกเลียนถือเป็นมาตรการหนึ่งที่แฟรนไชซอร์นิยมใช้ แฟรนไชซียังคงทำธุรกิจได้ตามมาตรฐานของแฟรนไชซอร์ แต่ไม่รู้มากพอที่จะออกไปทำเองได้
  3. การคุ้มครองด้วยกฎหมาย เครื่องหมายการค้าจะได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายเครื่องหมายการค้า แฟรนไชซีได้รับสิทธิให้ใช้เฉพาะตามที่กำหนดในสัญญาเท่านั้น จะไปแอบอ้างว่าเป็นของตัวเอง หรือแอบเอาไปจดที่ประเทศอื่นอย่างนี้ก็จัดการตามกฎหมายได้ ข้อมูลทางการค้า เทคนิค วิธีการบางอย่างก็ถือเป็นความลับทางการค้า ถ้าแฟรนไชซีเอาไปเปิดเผยก็ถือว่าผิดกฎหมายความลับทางการค้าเช่นกัน อันหลังนี่ ไม่ต้องไปจดทะเบียนเหมือนเครื่องหมายการค้าด้วย

กลไกป้องกันอย่างหนึ่ง ในระบบแฟรนไชส์ เขาจะไม่ยอมให้แฟรนไชซีใช้ชื่อเครื่องหมายการค้า ไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วนมาเป็นชื่อตัวของแฟรนไชซี เช่น เอาไปจดทะเบียนเป็นชื่อบริษัท เป็นต้น เพื่อการป้องกันการสับสนในสถานะของแฟรนไชซอร์ และแฟรนไชซีในระหว่างอายุสัญญาแฟรนไชส์ และหลังเลิกสัญญาแฟรนไชส์

อย่างไรก็ดี กลไกทางกฎหมายในการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาของแฟรนไชซอร์มีหลายช่องทาง ในทางปฏิบัติจะใช้มาตรการร่วมกันหลายมาตรการ ซึ่งอาจรวมถึงเงื่อนไขในสัญญาที่ห้ามแฟรนไชซีประกอบธุรกิจแข่งขันหลังจากสัญญาแฟรนไชส์สิ้นสุดลงแล้วด้วย

การวางแผนอย่างรอบคอบและรัดกุม จึงเป็นสิ่งจำเป็นก่อนจะเริ่มขยายธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site is protected by reCAPTCHA and the Google Privacy Policy and Terms of Service apply.