AFP_การตั้งต้นธุรกิจ

 

“จะขายแฟรนไชส์ ต้องตั้งราคา ออกแบบค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์อย่างไร?”

โดย อ.พัฒนพล บรรทัดจันทร์
ที่ปรึกษากลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์ บริษัท บิสิเนส โค้ช แอนด์ คอนซัลติ้ง จำกัด

 

ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์คือ สิ่งที่เจ้าของแฟรนไชส์หรือแฟรนไชส์ซอร์ เรียกเก็บจากนักลงทุนหรือแฟรนไชส์ซี โดยแบ่งเป็นค่าธรรมเนียมแรกเข้าหรือ Initial Fee จ่ายครั้งแรกในการเข้าร่วมธุรกิจแฟรนไชส์อาจจะจ่ายวันที่เซ็นสัญญาแฟรนไชส์
ต่อมาคือค่าสิทธิรายเดือนได้แก่ Royalty Fee คือ ค่าบริหารจัดการที่แฟรนไชส์ซอร์ส่งทีมงานมาช่วยเหลือ หรือพัฒนาระบบ เพื่อสนับสนุนการทำธุรกิจของแฟรนไชส์ซี
และค่าการตลาด Marketing Fee อธิบายง่ายๆ คือกองทุนการตลาดที่ทุกสาขาส่งมารวมที่แฟรนไชส์ซอร์เพื่อนำไปใช้ทำการตลาดในภาพรวม (Nationwide) เพื่อสร้างแบรนด์ ทำอีเว้นท์ กิจกรรม CSR หรือการจ้างดารา จ้างพรีเซนเตอร์ต่างๆ ซึ่งค่า Royalty Fee และ Marketing Fee ส่วนใหญ่จะจัดเก็บเป็นรายเดือน หรือรายสัปดาห์ โดยแบ่งเปอร์เซ็นต์ (%) จากยอดจขาย หรือกำหนดเรทตายตัว (Fix Rate) ซึ่งแตกต่างจากค่าแรกเข้า Initial Fee ซึ่งเก็บครั้งเดียวตอนทำสัญญาแฟรนไชส์

 

การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ สิ่งที่แฟรนไชส์ซอร์ต้องคำนึงคือ “ความสามารถในการทำกำไร” (Profitability) ของธุรกิจเสียก่อน เพราะค่าสิทธิคือค่าใช้จ่ายและต้นทุนของแฟรนไชส์ซี ซึ่งทำให้สาขาของแฟรนไชส์ซีจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าสาขาของแฟรนไชส์ซอร์ อีกทั้งแฟรนไชส์ซีอาจไม่มีประสบการณ์ทำธุรกิจเหมือนแฟรนไชส์ซอร์ ฉะนั้นอัตรากำไรจะต่ำกว่ามากจนทำให้ธุรกิจไม่สามารถคือทุนหรือทำกำไรในระยะเวลาที่กำหนด ฉะนั้นก่อนขายแฟรนไชส์ แฟรนไชส์ซอร์จึงจำเป็นต้องจัดทำตัวเลขธุรกิจไว้ก่อน ตั้งแต่งบประมาณการลงทุน ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของสาขา ประมาณการยอดขายและต้นทุนสินค้า รวมถึงการวิเคราะห์ระยะเวลาคืนทุน ไว้ก่อนกำหนดค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ต่างๆ

https://businesscoach.co.th/afp2020/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site is protected by reCAPTCHA and the Google Privacy Policy and Terms of Service apply.