การเสพสื่อ Online ของนักลงทุน และผู้บริโภค (End User)

แฟรนไชส์จะมีการสื่อสารในรูปแบบโฆษณา 2 ด้านพร้อมกัน คือ สื่อสารไปที่ผู้บริโภคโดยตรงเพื่อสร้างตลาดของตนขึ้นมา กับการสื่อสารไปที่นักลงทุนเพื่อสร้างพันธมิตรที่พอใจร่วมลงทุนในระบบของแฟรนไชส์ซอร์

จุดสังเกต คือ แฟรนไชส์ซอร์ที่เน้นสื่อใน Media ที่มุ่งเน้นจูงใจนักลงทุนอย่างเดียว เร่งสร้างธุรกิจเพื่อจะขายแฟรนไชส์ กลับกลายเป็นว่าจะสร้างความสับสนให้เกิดขึ้นกับกลุ่มลูกค้าตนเอง เนื่องจากคนกินคนใช้ยังไม่เข้าใจ ยังไม่เข้าถึงสินค้า/บริการของตัวธุรกิจ แต่บริษัท         แฟรนไชส์กับมุ่งมาสร้างเนื้อหาเน้นขายแฟรนไชส์เป็นหลัก นี่คือความสับสนและขาดความเข้าใจอย่างแรงของระบบการตลาดที่อยู่ในระบบแฟรนไชส์ แทนที่จะสร้างเนื้อหาการตลาดเพื่อนักลงทุนอย่างเดียว สิ่งที่ธุรกิจแบบนี้ควรทำคือ มุ่งไปที่การสร้างการรับรู้สินค้า ตรา และสร้างตลาดให้เกิดจริงจังเสียก่อน เพราะเมื่อธุรกิจได้รับความนิยมจากสินค้า ตรายี่ห้อจะส่งผลให้ความต้องการของนักลงทุนในแฟรนไชส์ก็จะเกิดขึ้นเองตามไปด้วย และเป็นความต้องการที่เกิดขึ้นอย่างมั่นคง เป็นความต้องการของจริงมากกว่าการเร้าด้วยสื่อการตลาด เพราะถ้าเน้นเอาการตลาดมาโน้มน้าวให้คนสนใจในการลงทุน แต่ไม่มีลูกค้ามารองรับการตลาดเพื่อธุรกิจ (Market Size) แฟรนไชส์แบบนี้จึงค่อนข้างเสี่ยง จนมีโอกาสเป็นแฟรนไชส์หลอกลวงได้ทันที เพราะจะเกิดภาวะที่ธุรกิจนั้นๆ เน้นสร้างรายได้จากการกระจายสาขาเก็บเงินค่าธรรมเนียม ทั้งนี้ธุรกิจหลักที่นำเสนอกลับไม่ได้เป็นการสร้างรายได้ที่แท้จริงให้ เมื่อไหร่ก็ตามธุรกิจแบบนี้ขยายสาขาไม่ได้ ไม่มีแฟรนไชส์ซีใหม่มาเติม ก็เท่ากับว่าธุรกิจขาดรายได้ นี่คือจุดอันตรายของการสร้างตลาดแฟรนไชส์แบบผิดๆ นั่นเอง ธุรกิจที่เหมาะสมต่อการพัฒนาระบบแฟรนไชส์คือ ธุรกิจที่ไม่จำเป็นต้องขยายสาขาด้วยแฟรนไชส์ก็สามารถอยู่ด้วยตัวเองได้ และถ้าธุรกิจเติบโตขยายได้ด้วยตัวเอง นั่นแหละคือจุดที่เหมาะสมกับการขยายสาขาผ่านนักลงทุนด้วยระบบงานการบริหารจัดการแบบ แฟรนไชส์ที่สมบูรณ์ได้จริง

 

บทความโดย : ดร.พีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์ (CFE)

หากสนใจพัฒนาธุรกิจให้เป็นระบบแฟรนไชส์/สร้างระบบแฟรนไชส์ให้กับธุรกิจ คุณไม่ควรพลาด!! หลักสูตรเจาะลึกการพัฒนาธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ - Advanced Franchise Program

กดลิ้งก์ : https://businesscoach.co.th/course/afp/

สนใจปรึกษาธุรกิจ ติดต่อสอบถาม 080-550-2134, 099-615-2647